วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ลาบของกินคนเมือง (อาหารภาคเหนือ)

ลาบ




ลาบ (LAB)
ภาคเหนือ และภาคอีสาน จะมีอาหาร การกิน คล้าย ๆ  กัน ซึ่งหนึ่งใน อาหารพื้นเมืองที่เป็นที่นิยม และจะขาดเสียมิได้เลย คนเมืองหรือชาวเชียงใหม่ จะเรียกว่า ลาบ เช่น ลาบดิบ ลาบสุก หรือ ลาบคั่ว ส่วนทางภาคอีสาน จะเรียกว่า ลาบอีสาน เป็นต้น สำหรับ ลาบ สมัยก่อน แต่ยุค ล้านนนา ชาวเชียงใหม่ ถือว่า ลาบ เป็นอาหารที่นิยมทำกินกันในโอกาสพิเศษหรืองานเลี้ยงหรือในเทศกาลต่างๆ ส่วนประกอบหลักของลาบ คือเนื้อหมูสด บางบ้านนิืยม บริโภค วัว ควาย ก็ เรียกว่า ลาบวัว ลาบควาย เมื่อต้องการนำมาทำ ก็จะใช้เนื้อสด นำมาสับให้ละเอียดคลุกเคล้ากับเลือดสดและเครื่องในต้มหั่นซอย ปรุงด้วยเครื่องปรุงอันประกอบด้วยพริกแห้งเผา และเครื่องเทศต่างๆ ลาบกินกับผักสดนานาชนิด โดยเฉพาะประเภทสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมแรง และเรียกผักที่นำมากินกับลาบว่า “ผักกับลาบ” ปัจจุบัน นิยมรับประทานลาบหมู มากกว่าลาบวัว ลาบควาย ลาบที่ยังไม่สุก เรียกว่า ลาบดิบ ถ้าต้องการรับประทานแบบสุก ก็นำไปคั่วกับน้ำมันพืชเล็กน้อย หรือไม่ใส่น้ำมันก็ได้ตามชอบ เรียกว่า ลาบคั่ว

ลาบหมูคั่ว



   
ลาบหมู เป็นที่ยมมากทางเหนือ มีทั้งลาบดิบ และลาบสุก ลาบดิบคือ เมื่อลาบหมูเสร็จแล้วก็นำมาคลุกกับเลือดสดๆซึ่งเลือดนั้นต้องเป็นเลือดที่สดๆใหม่ๆ ถึงจะหวานเสร็จแล้วก็นำมาคลุกกับน้ำพริกลาบและเครื่องในหมูที่ต้มหรือทอดไว้โรยหน้าด้วยต้นหอมผักชี รับประทานกับผักสดๆ ส่วนลาบหมูคั่วก็คือ การนำหมูสับไปคลุกกับน้ำพริกลาบแล้วปรุงรส แล้วนำไปคั่วให้หมูสุก สามารถใส่ได้ทั้งเครื่องในต้มหรือทอดตามใจชอบ และคลุกผสมกับตะไคร้ซอยทอดจะอร่อยมาก น้ำพริกลาบดูสูตรที่ น้ำพริกแกง/ซอสต่างๆ - น้ำพริกลาบ (คำว่า คั่ว เปรียบได้กับ ผัด แต่ชาวเหนือ มักเรียกติดปาก ว่า คั่ว)

น้ำพริกลาบ




หรือ “พริกลาบ” (คนเหนือมักเรียกคำสั้น ๆ ) คือ การนําเครื่องเทศและพืชสมุนไพรต่างๆ  เช่น พริกแห้ง หอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ มะแขว่น มะแหลบ ดีปลี พริกไทย เม็ดผักชี มาหั่น สับ หรือบดตามความต้องการ แล้วนําไปทําให้แห้งหรือคั่ว ก่อนจะนำมาผสมให้เข้ากัน จากนั้นนำไปคั่วรวมกันอีกครั้งให้สุก จะได้กลิ่นหอมและทำให้สามารถเก็บไว้ได้นาน บางครั้งถ้าคั่วโดยใส่น้ำมันลงไปเล็กน้อยก็จะได้รสชาติพริกลาบที่มีความเข้มข้นขึ้นหรือจะทานแบบดิบๆก็อร่อยเช่นกัน ซึ่งน้ำพริกลาบนั้นจะเป็นตัวช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อในการปรุงลาบของภาคเหนือ

ในขั้นตอนการทำน้ำพริกลาบนั้นหากใครไม่ชอบเผ็ดมากก็ให้ใช้พริกแห้งเม็ดใหญ่ครึ่งหนึ่ง และพริกขี้หนูแห้งครึ่งหนึ่ง หรืออาจจะแกะเอาเมล็ดด้านในออกบ้างก็ได้ น้ำพริกลาบชนิดนี้เป็นน้ำพริกลาบาบของทางภาคเหนือ  อาหารที่มีส่วนผสมของน้ำพริกชนิดนี้ได้แก่ ยำไก่ ลาบหมู ลาบเนื้อ ยำกบ ยำหูหมู ฯลฯ



ส่วนประกอบของน้ำพริกลาบ    มีดังนี้
1. ส่วนประกอบทั่วไป  ได้แก่
    พริกขี้หนูแห้งเด็ดขวั้นออก  50 กรัม  (หรือแล้วแต่ความชอบเผ็ดของแต่ละคน  ถ้าต้องการเผ็ดมากก็ ใช้พริกเม็ดน้อย  ถ้าไม่ค่อยชอบเผ็ดก็ใช้พริกเม็ดใหญ่ครึ่งหนึ่ง)
    หอมขนาดกลาง 2-3 หัว (ปลอกเปลือกให้หมด)
    กระเทียมกลีบเล็ก 10 กลีบ (ปลอกเปลือกให้หมด)
    เกลือ 2 ช้อนชา
2. ส่วนประกอบพิเศษ เป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม มีคุณสมบัติช่วยดับกลิ่นคาวเลือดสด
    ข่าแก่ซอยเป็นชิ้นเล็กๆ 2 ช้อนโต๊ะ
    ตะไคร้ซอยละเอียด 3 ช้อนโต้ะ
    มะแขว่น  2 ช้อนโต๊ะ (มะแขว่นเป็นเครื่องเทศเฉพาะทางภาคเหนือ  ใช้ได้ทั้งดิบและแห้ง มีรสชาติเฝื่อน มีกลิ่นหอมฉุน ส่วนใหญ่ใช้ปรุงลาบ)
    มะแหลบ 1 1/2 ช้อนชา (เป็นเครื่องเทศทางภาคเหนือ  อยู่ทางแถบเขาหินปูน  ใบอ่อนนิยมใช้เป็นเครื่องเคียงกับลาบ)
    เม็ดผักชี 2 ช้อนโต๊ะ
    พริกไทยเม็ด 1 1/2 ช้อนชา
    ดีปลี  1 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำน้ำพริกลาบ
1. ตั้งกระทะด้วยไฟปานกลาง  ใส่พริกลงไปคั่วให้ดำแต่อย่าไหม้ หลังจากนั้นตักพริกออก นำหอมและกระเทียมลงไปคั่วก่อนสักพักประมาณ 3-5 นาที  จากนั้นใส่ข่า  ตะไคร้ลงไปคั่ว พอเริ่มแห้ง ใส่มะแขว่น  มะแหลบ  เม็ดผักชี  พริกไทย และดีปลีลงไปด้วยกัน คนและทิ้งไว้บนเตาสักพัก  พอเริ่มมีกลิ่นหอมของเครื่องเทศจึงปิดไฟ
2. เริ่มโขลก พริกกับเกลือจนละเอียดดี (พยายามอย่าตำให้เม็ดพริกแหลกมาก  เพราะจะทำให้เสียรสซาติของเม็ดพริก)   จากนั้นตามด้วยส่วนผสมที่เหลือลงไปโขลก  โขลกจนละเอียดและเข้ากันก็เป็นอันเสร็จ (อย่าใช้เครื่องบด  เพราะจะทำให้ได้พริกลาบที่ไม่อร่อย)
3. ตักใส่ภาชนะที่มีฝาปิด ปิดฝาให้แน่น  พริกลาบสามารถทำและเก็บไว้ได้นาน ( เก็บไว้ในตู้เย็นในช่องแช่แข็ง  จะสามารถยืดอายุน้ำพริกลาบไว้ได้นาน   เมื่อจะทำลาบเมื่อไหร่ก็เอาออกมา)      ปัจจุบันมีน้ำพริกลาบที่ทำสำเร็จแล้วจำหน่ายทั่วไป ตามแผงจำหน่ายเนื้อสัตว์ในตลาด   หรือตามร้านขายของชำในหมู่บ้านทั่วไป

หลังจากได้น้ำพริกลาบ แล้ว เราก็มาเตรียม ทำลาบ กันต่อ...

ส่วนผสม ลาบดิบ - ลาบคั่ว (หมู)
  1. เนื้อหมูสันใน                      1/2     กิโลกรัม    
  2. เครื่องในหมู                       300    กรัม
  3. เลือดหมู                            1/2    ถ้วยตวง
  4. พริกลาบ                               3    ช้อนโต๊ะ (อยากได้รสจัดก็ใส่เพิ่มได้ตามต้องการ)
  5. กระเทียมเจียว                        2    ช้อนโต๊ะ
  6. พริกขี้แห้ง (ทอดมาก่อน)       5-7    เม็ด (ตามชอบ) 
  7. ผักไผ่                                  2    ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ
1.  นำหมูมา สับ บนเขียง ให้ละเอียด เหมือน หมูบด  โดยทยอยสับหมู เป็นช่วง  ๆ การทำลาบนั้น จะไม่ นิยม ใช้หมูบดที่ซื้อมาจาก ตลาด เพราะอาจมี มันหมูปนมามากเกินไปทำให้เสีย รสชาต ได้ คนเหนือ จึงนิยม สับจนะละเอียด
2. ระหว่างสับเนื้อหมู ให้ ตักหรือ เลือดหมูสดลงไป แล้ว ใช้สันมีด หมือ ด้านมีด สลับหมู พลิก ไปมา ให้ เลือดหมูและหมูที่สับ ผสมกันได้อย่างพอดี
3. เมื่อหมูสับได้ที่และคลุกเลือด พอประมาณแล้ว ให้ย้ายลงมาใส่ ภาชนะ เช่น ชาม หรือ ภาชนะขนาดที่ใหญ่กว่าถ้วย เพื่อเตรียมคลุกเครื่องใน
4. นำเครื่องในไป ต้ม พอสุก กำลังดี ซอยเป็นชิ้น พอคำ นำมาผสมกับ หมูดิบ และคนให้เข้ากัน ทยอยเติมเลือด เข้าไป ให้คลุกเคล้า เป็นสีเดียวกัน
5. ใส่ พริกลาบ เข้าไป คนให้ทั่ว ถ้าคนชอบรับประทานลาบดิบ ก็จะตักใส่จาน เติม ผักชี ต้นหอม ที่ซอยไว้ แ้ล้วรับประทาน กับข้าวเหนียว ร้อน ๆ  (ลาบดิบ)


ลาบสุก หรือ ลาบคั่ว 
วิธีทำ
นำหมูทุกอย่างผสมกันแล้วใส่น้ำพริกลาบลงไปคนให้เข้ากัน ใส่น้ำต้มหมู 3 ช้อนโต๊ะ และน้ำปลาลงไป คนให้เข้ากันพัีกไว้ ตั้งกระทะน้ำมันบนไฟกลางจนร้อนนำตะไตร้ซอยลงไปทอดจนกรอบ แล้วตักขึ้นพักไว้ จากนั้นนำหมูที่ผสมเมื่อกี้ลงไปคั่วจนสุก ชิมรส หากไม่เค็มให้เติมนำ้ปลาได้ นำตะไคร้ทอดลงไปคนด้วยกัน ปิดไฟโรยผักไผ่ ต้นหอมผักชี ผักชีฝรั่ง คนอีกครั้ง ตักใส่ตักใส่จานโรยหน้าด้วยต้นหอมผักชี และพริกแห้งคั่ว เสิร์ฟกับผักสด รับประทานกับข้าวเหนียวร้อนๆ





 อ่านแล้ว ชักอยากกิน ขึ้นมาทันที ว่าง ๆ  ลอง ทำ ทานกันดูครับ คงไม่ยาก จนเกินไป ไว้ พบกัน กับเมนูใหม่ ครั้งต่อไป ครับ ^__^































Glutinous rice (ข้าวเหนียว) ข้าวคนเหนือ

ความรู้และประวัติความเป็นมาของข้าวเหนียว

ข้าวเหนียว สัญลักษณ์การกินของ คนเมือง (เชียงใหม่) โดยส่วนใหญ่



ข้าวเหนียว (อังกฤษ: Glutinous rice; ชื่อวิทยาศาสตร์: Oryza sativa var. glutinosa) 

เป็นข้าวที่มีลักษณะเด่นคือการติดกันเหมือนกาวของเมล็ดข้าวที่สุกแล้ว ปลูกมากทางภาคเหนือ และ อีสานของประเทศไทยและ ประเทศลาว ข้าวเหนียวเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศ และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้วยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยว  เราจะเห็นได้ว่าคนภาคเหนือ และอีสานส่วนใหญ่
จะนิยมรับประทานข้าวเหนียวกันมากกว่าข้าวเจ้า เพราะข้าวเหนียวรับประทานแล้วจะรู้สึกอิ่มท้องมากกว่าและอยู่ได้นาน แต่การรับประทานมากเกินไปจะก่อให้เกิดอาการไฟธาตุพิการได้ง่าย ผู้สูงอายุไม่ควรที่จะรับประทานข้าวเหนียวให้มากเพราะจะทำให้ติดคอได้


ข้าวเหนียวสีขาวใช้บริโภคทั่วไป

ข้าวก่ำ ข้าวเหนียวอีกชนิด สีดำแดงจะมีความเหนียวกว่าสีขาว


ข้าวเหนียวมี 2 สี คือ สีขาวและ สีดำ(คนเหนือเรียกว่า"ข้าวก่ำ") 
แต่ข้าวเหนียวดำจะมีสารอาหาร ที่เป็นประโยชน์มากกว่าข้าวเหนียวขาว สารอาหารที่ว่า คือ
“โอพีซี"(OPC)มีสรรพคุณช่วยชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย
โดยสารโอพีซีที่พบในข้าวเหนียวดำ เป็นสารชนิดเดียวกับสารสกัดที่ได้ จากองุ่นดำองุ่นแดง เปลือกสน

การค้นพบ
อาจารย์ สุรัตน์ จงดา สันนิฐานว่า ข้าวยุคแรกที่มนุษย์กิน คือพันธุ์ข้าวเหนียว หลักฐานที่เราค้นพบ เมล็ดข้าวหรือข้าวเปลือก ที่ถ้ำปงคง จ. แม่ฮ่องสอน 5500 ปี และที่บ้านเชียง การค้นพบเมล็ดข้าวที่บ้านเชียง 3000-4000 ปี เป็นข้าวเมล็ดปล้อง สันนิฐานว่าอยู่ในตระกูลข้าวเหนียว

พันธุ์และลักษณะเด่น
    พันธุ์สันป่าตอง 1 ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้งดี ให้ผลผลิตสูง สามารถปลูกได้ทั้งปี
    พันธุ์สกลนคร เป็นข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง ปรับตัวได้หลายสภาพ นาดอน นาชลประทาน และสภาพไร่นา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    พันธุ์หางยี 71 ทนแล้งปลูกเป็นข้าวไร่ได้ อายุเบา ต้านทานโรคไหม้และโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรค ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว
    พันธุ์กข 2 ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียวปานกลาง ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว
    พันธุ์กข 4 ปลูกได้ทุกฤดูกาล ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว ไม่ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง
    พันธุ์กข 6 ทนแล้ง ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว
    พันธุ์กข 8 ทนแล้ง ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว

พันธุ์ของข้าวเหนียวมีอยู่ด้วยกันหลายสายพันธุ์
แต่ที่คนส่วนใหญ่เห็นจะมีอยู่สองสี คือ ข้าวเหนียวที่มีสีขาวและข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวที่เก็บเกี่ยวเร็วเม็ดจะแข็งกว่าข้าวเหนียวที่เก็บเกี่ยวช้า แต่คนโบราณจะนิยมนำข้าวเหนียวที่เก็บได้ใหม่หลังจากที่สีแล้วไปฝากกัน ซึ่งทำให้ผู้รับรู้สึกว่าเหมือนกับตัวเองได้ทำนาเองและมีความปราบปลื้มใจมาก ถึงแม้ว่าจะมันจะไม่เยอะก็ตาม


 สรรพคุณและประโยชน์
  •     เป็นอาหารร่าเริง ทำให้สมองสงบ คลายเครียด กินแล้วจะรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้อิ่มท้องนาน
  •     เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของกระเพาะอาหาร
  •     ชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย
  •     ช่วยขับลมในร่างกาย
  •     สร้างเม็ดเลือด ทำให้เม็ดเลือดสมบูรณ์
  •     ป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ
  •     ป้องกันปัญหาวุ้นนัยน์ตาเสื่อม
กินข้าวเหนียว ช่วยบำรุงผิวพรรณสร้างสารอาหารให้ร่างกาย
เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของกระเพราะ ข้าวเหนียว เป็นธัญพืชที่รองลงมาจากข้าวที่คนเรานิยมรับประทานกัน เพราะให้ความเหนียว ความมัน มีรสชาติที่น่ารับประทาน ความเชื่อของคนโบราณเชื่อว่า ข้าวเหนียวเป็นสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้ ซึ่งมีทั้งข้าวใหม่และข้าว ข้าวใหม่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ร้อน นิยมปลูกในนาลุ่มที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์หรืออาจจะปลูกในที่ดอนก็ได้ที่เรียกว่าข้าวไร่ทางภาคเหนือ

ประโยชน์ภายนอกในการใช้ข้าวเหนียว
โดยการนำข้าวสารแช่ให้นุ่มแล้วโดยปั่นในเครื่องปั่น ผสมกับใบตำลึงอ่อน สัดส่วน 1 ต่อ 1 นำมาพอกกับผิวหน้า ผิวกาย ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นช่วยลดริ้วรอย จุดด่างดำ ให้ค่อยๆ จางหายไป ทำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้าก็มีประโยชน์กับร่างกายเหมือนกัน ถ้าเรารู้จักถึงคุณค่าและรู้จักที่จะนำไปแปรรูปให้เกิดประโยชน์ต่อไป

ข้าวเหนียวสามารถแปรรูปไปเป็นอาหารอื่นได้ส่วนใหญ่จะทำเป็นขนมมากกว่า เช่นเทศกาลตรุษจีนก็ทำขนมแข่ง เทศกาลออกพรรษาคนในสมัยก่อนก็จะทำข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มผัด ข้าวหลาม ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวนึ่งกินกับส้มตำ หรืออื่นๆ อีกมากมาย

สารสำคัญ
ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก และวิตามินอี





การนึ่งข้าวเหนียว


 การนึ่งข้าวเหนียว นั้น แตกต่างจาก การหุงข้าวเจ้า เพราะข้าวเหนียว ใช้วิธีนึ่ง โดย มี อุปกรณ์ ที่ คนเหนือหรืออีสาน เรียกว่า (ซ้าหวด) หรือบางบ้าน การใช้ ซึงนึ่งข้าวก็มี โดนด้านบน จะใส่ ข้าวเหนียว ที่แช่น้ำค้าง คืน หรือไม่น้อยกว่า 3 ชม. มาแล้ว ส่วนด้านล่างจะเป็น หม้อต้มน้ำ ใช้ไไฟบางเบา ในการนึ่งข้าว โดยให้น้ำด้านล่าง ร้อนจนเดือด เพื่อให้ ไอน้ำ ผ่านขึ้นด้านบน จนข้าวสุก

วิธีนึ่งข้าวเหนียวให้นุ่ม

ส่วนผสม
1. ข้าวเหนียว 5 กิโลกรัม
2. เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำสะอาดพอท่วม
4. ใบเตย 2-3 ใบ

วิธีการทำ

1. นำข้าวเหนียวที่ได้ไปทำการล้างน้ำให้สะอาด โดยล้างประมาณ 2 น้ำ
2. เติมน้ำสะอาดลงไปให้พอท่วม ตามด้วยเกลือ 1 ช้อนโต๊ะที่เตรียมไว้
3. หลังจากนั้นแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง ก็สามารถนำไปนึ่งได้

** ก่อนนึ่งข้าวเหนียวให้รองก้นหวดด้วยใบเตยประมาณ 2-3 ใบ จะช่วยให้ข้าวเหนียวมีกลิ่นหอมของใบเตยน่ารับประทาน
** การนำข้าวเหนียวแช่น้ำเกลือ ก่อนนำไปนึ่งนั้น จะช่วยลดระยะเวลาในการแช่ข้าวเหนียวได้ ซึ่งปกติแล้วถ้าไม่ใส่เกลือจะต้องใช้ระยะเวลาในการแช่ข้าวเหนียวประมาณ 1 คืน
 แต่เมื่อเติมเกลือลงไป แช่แค่ 1 – 2 ชั่วโมง ก็จะทำให้ข้าวเหนียวนุ่มน่ารับประทานขึ้น






(สุตรจากทางบ้านมาฝากไว้)
วันนี้ที่ร้านข้าวเหนียวนึ่งขายดีเป็นพิเศษเลยค่ะ  แม่ก็เลยให้นกวิ่งไปซื้อข้าวเหนียวจากร้านค้ามาแช่
จะได้นึ่งขายอีก  ปรากฎว่า  พอซื้อข้าวเหนียวกลับมา  ข้าวเหนียวที่มีอยู่ก็เกือบจะหมดอีกแล้วแล้วจะทันนึ่งขายหรือนี่   เพราะข้าวเหนียวต้องแช่น้ำไว้ให้อ่อนก่อนประมาณ 1- 2 ชั่วโมง (สำหรับข้าวใหม่)
ถ้าเป็นข้าวเหนียวเก่าก็ต้องนานกว่านั้นค่ะ ทีนี้นกเลยคิดหาวิธี    ทำให้ข้าวเหนียวที่แช่นั้นอ่อนไว ๆ    นกก็เลยเอาเกลือป่นประมาณ  1 อุ้งมือ(พอดีๆ  ไม่พูน) ใส่ลงไปผสมกับข้าวเหนียวที่แช่ในน้ำแล้วก็คนๆๆๆให้ทั่ว    เวลาผ่านไปไม่ถึง  2 ชั่วโมง   นกก็สามารถนำข้าวเหนียวนั้นมานึ่งขายได้เลยค่ะ  แถมยังอ่อนอีกด้วย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ   นกคิดว่า  “เกลือ”  มีคุณสมบัติดูดความชื้น   ดังนั้นเมื่อผสมลงไปในน้ำที่แช่ข้าวเหนียว   เกลือก็น่าจะดูดความชื้นจากน้ำมาอยู่ที่ข้าวเหนียว   ข้าวเหนียวจึงอ่อนและนุ่มขึ้น ก็ไม่รู้ว่าหลักการที่นกคิดแบบนี้ถูกมั้ย   แต่ว่ามันก็เป็น “นวัตกรรม” ที่ทำให้ข้าวเหนียวของนกอ่อนและนุ่มเร็วขึ้นค่ะ 

เรื่องของข้าวเหนียว (เกร็ดความรู้เพิ่มเติม)
ครรชิต มาลัยวงศ์
        ผมเคยสงสัยมาตั้งนานแล้วว่าทำไมข้าวเหนียวถึงเหนียวกว่าข้าวเจ้า แล้วทำไมเมล็ดข้าวของมันจึงดูขุ่นกว่าด้วย แต่ก็สงสัยไปอย่างนั้นเองไม่ได้ขวนขวายที่จะหาคำตอบ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2549 นี้เองที่ ท่านราชบัณฑิต ศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา ชุติมา ได้กรุณาบรรยายเรื่องเกี่ยวกับ ข้าวเหนียว ให้ราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกในสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถานทราบ ผมฟังแล้วก็เลยเก็บรายละเอียดมาเล่าสู่กันฟังต่อไปดังนี้
    ทำไมข้าวเหนียวจึงเหนียว ข้าวเหนียวและข้าวเจ้านั้นมีส่วนประกอบสำคัญคือแป้งหรือ starch คือเป็น กลูโคสโพลีเมอร์ แบบหนึ่ง แต่ แป้งข้าวเหนียวนั้นประกอบด้วยสารที่เรียกว่า อะมิโลเพกติน ทั้งหมดหรือเกือบหมด อะมิโลสนี้ทำให้ข้าวเหนียวเกาะตัวกันเป็นก้อนเมื่อเคี้ยว แตกต่างไปจากข้าวเจ้าซึ่งมีอะมิโลสน้อยกว่า
    ข้าวเหนียวและข้าวเจ้าในไทยนั้นเป็นพันธุ์อินดิก้าทั้งหมด คือเป็นสายพันธุ์ข้าวอินเดียนั่นเอง ยังมีสายพันธุ์ข้าวอื่นอีกคือ พันธุ์จาวานิกา คือสายพันธุ์ชวา และสายพันธุ์จาโปนิกา คือสายพันธุ์ข้าวญี่ปุ่น ข้าวเหนียวในเมืองไทยมีทั้งหมด 83 พันธุ์ แต่สถานีวิจัยข้าวของไทยแนะนำให้ปลูกเพียง 17 พันธุ์ เช่นข้าวเหนียวพันธุ์ สันป่าตอง และ กข 6 พันธุ์ข้าวเหนียวสันป่าตองได้จากการปรับปรุงพันธุ์มาจากพันธุ์พื้นเมืองเดิมโดยวิธีการทางเกษตร ส่วน กข 6 ได้จากการใช้รังสีปรับปรุงจากพันธุ์ข้าวเจ้าชื่อ ข้าวหอมมะลิ 105 นั่นก็คือพันธุ์ข้าวเหนียวและข้าวเจ้าอาจเปลี่ยนกันได้
    ข้าวเหนียวมีโปรตีนมากกว่าข้าวเจ้าหรือเปล่า คำตอบคือไม่ได้มีมากกว่า ข้าวที่เรารับประทานทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้านั้นมีโปรตีนอยู่ในเมล็ดข้าวด้วยในราว 6 - 8 เปอร์เซ็นต์ แต่ข้าวเหนียวบางพันธุ์อาจจะมีมากหน่อยถึง 11% แต่ก็ไม่จัดว่ามากเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามข้าวที่มีเมล็ดสีแดงหรือน้ำตาลนั้นโดยปกติจะมีโปรตีนสูงกว่าข้าวที่มีเมล็ดสีขาว
    ทำไมเมล็ดข้าวเหนียวจึงมีสีขาวขุ่น ในขณะที่เมล็ดข้าวเจ้ามีสีขาวใสกว่า คำตอบก็คือ ความโปร่งแสงและความใสของเมล็ดข้าวนั้นขึ้นอยู่กับการจัดเรียงตัวกันของ starch และ โปรตีนในเมล็ดข้าวที่อัดแน่นไม่เท่ากัน ภายในเมล็ดข้าวเหนียวมีช่องว่างอากาศมากกว่า ทำให้แสงที่ผ่านเข้าไปเกิดการเลี้ยวเบนและแพร่ซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายครั้งจึงมองเห็นเมล็ดขุ่นหรือทึบแสง
    ข้าวเหนียวมีผลร้ายต่อคนเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ คาร์โบไฮเดรตนั้นล้วนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดต่างกัน นักโภชนาการได้กำหนดดัชนีน้ำตาลไว้และเสนอแนะว่าไม่ควรรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงกว่า 70 สำหรับข้าวเจ้านั้นมีค่าดัชนีน้ำตาล 71 และ ข้าวเหนียว 75 จัดว่าสูงด้วยกันทั้งคู่ แต่ข้าวเหนียวสูงกว่าเล็กน้อย แต่ข้าวกล้องของทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียวมีดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าข้าวขัดสีพันธุ์เดียวกัน ดังนั้นจึงควรรับประทานข้าวกล้องมากกว่าข้าวที่ขัดสีแล้ว









วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Service รถที่ให้บริการในจังหวัดเชียงใหม่ (ในเมือง)

หากมาเชียงใหม่ โดย ไม่มีรถส่วนตัว คุณสามารถ หารถ ได้ โดยมี หลายหลายประเภท ลองมาดูกันครับว่า รถบริการแบบ ไหนจะถูกใจคุณ อ่านแล้ว เลือกตัดสินใจ เอาได้เลย

Red Car ไปได้ทุกที่ ถ้ามี (สี่ล้อแดง)


รถสองแถว หรือ คนเชียงใหม่ มักเรียกกันติดปากว่า (สี่ล้อแดง) เพราะมันสีแดง อิอิ

ตั้งแต่ ผมเกิด ถึงจำความได้ และโตมาจนถึงทุกวันนี้ ภาพที่เรา เห็น จนชินตา บนท้องถนน ระหว่าง รถเมล์ ก็จะมี รถสี่ล้อแดง นี่แหละ ที่วิ่งไปมา ในเมือง ทุกวัน ไม่้มีวัน หยุด ราชการ ตั้งแต่ เช้าตรู จนถึง กลางดึก แทบบอกได้เลยว่า 24 ชม. กันเลยทีเดียว

คนเชียงใหม่ นั้น ถ้าไม่ใช่ รถยนต์ หรือ มอเตอร์ไซค์ สิ่งนึ่งที่นิยม ใช้ คือ รถแดง เพราะ ราคาไม่แพง สมัยก่อน เริ่ม จาก 5 บาท แต่ เมื่อเวลา ผ่านไป น้ำมันแพง ของแพง ตอนนี้ ล่าสุด ปี 55 (อัพเดทข่าว)
ราคา จะอยู่ที 20 บาท ตลอดสาย ไม่ว่า คุณจะขึ้นจาก อีกมุม ของเมือง เชียงใหม่ไป ที่ไหน ก็จะราคา นี้ ทั้งใกล้ ไกล (กลางวัน) แต่หากไป ไกลเกินที่เขาคิดว่าไม่คุ้ม คนขับ อาจจะ เสนอราคาเพิ่มขึ้น เช่น 30 - 50 - 100 แล้วแต่ กรณี แต่หาก เป็น กลางคืน คุณอาจจะต้อง เหมาจ่าย ถ้าไปเที่ยวแล้วกลับที่พัก เพราะเขาจะใช้ อีกราคา หนึ่ง

นอกจากนี้ รถแดงอาจจะ สามารถเหมา ใช้สำหรับท่องเที่ยว โดยไปแบบ หมู่ คณะ หรือเริ่มจาก 3-5 คน ทั้งนี้ แล้วแต่ ตกลงกันเอง เช่น เหมาไป วัดพระธาตุ ดอยสุเทพ พระตำหนักถภูพิงค์ ราคา 1000 -1200 (รวมค่าน้ำมันแล้ว ถ้ารถตู้ อาจ แพงกว่า

ข้อควรระวัง หากคุณมาจาก อาเขต หรืิอ สถานนี รถไฟ หากยังไม่มีที่พัก หรือจองมาก่อน แล้วคุณขอให้ เขาพามาหา ระวัง คุณจะโดน ค่าหัวคิว ได้ เพราะโรงแรม หรือเกสเฮ้าส์ เขาจะจ่ายให้ รถที่มาส่ง
เช่น ราคา โรงแรม 500 เขาจะได้ 100 ซึ่ง แท้จริง คุณอาจจะเสีย ค่าที่พัก เพียง 400 หรือถูกกว่านั้น

 ข้อดีของ สี่ล้อแดง คือ ราคา 20 บาทเริ่มต้น และต่อรองได้ เหมาได้
 ข้อเสียของ สี่ล้อแดง คือ เนื่องจากราคาถูก เลยแวะรับคนตาม เส้นทางถ้ามีคนโบก ทำให้เสียเวลา

ดังนั้น ขึ้นรถแดง ทุกครั้ง ตกลง ราคาให้เรียบ ร้อย คุณจะสบายใจ ที่สุด ^_^

TUK TUK ตุ๊ก ๆ  สามล้อซิ่ง 






ตุ๊ก ๆ  หรือ รถสามล้อ เป็นบริการ ในเชียงใหม่ ที่ มีพอ ๆ  กับรถสี่ล้อแดง แต่ จำนวน น้อยกว่า ปกติ จะวิ่งใน เส้นทางไม่มาก มาเป็น ระยะ ไม่ถี่ เพราะเนื่องด้วย ส่วนมาก ค่าบริการ จะค่อนค้างสูง
ใกล้สุด 30 - 50 ไปไกล ก็ อาจ 100 - 500 ได้ แล้วแต่ระยะทา่งที่ตกลง
เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะ ตุ๊ก ๆ คิดราคา แบบ เหมา จ่าย ไปคน เดียว หรือ สองคน สามคน จะคิดราคาเดียว ไม่เหมือน รถ สี่ล้อแดง ซึ่ง ตุ๊ก ๆ จะตรงไปยังจุดหมายทันที
ที่มา ของ สามล้อซิ่ง ผู้เขียน เคยใช้ บริการไม่บ่อยนัก หากไม่มีเหตุจำเป็น แต่เมื่อ ใช้บริการ แล้วพบว่า
ความเร็ว นั้น ต้องบอกว่า อยู่ใน ขั้น หวาดเสียว เลยที เดียว เพราะ ในขณะที่คุณนั่งอยู่ เหมือนอยู่บน รถไฟเหาะ ทั้ง ปาดซ้าย ย้ายขวา เหวี่ยงหน้า กระดกหลัง ฮะฮะฮะ ทั้งตื่นเต้นเร้าใจ เลยทีเดียว
ไม่ลองไม่รู้ครับ สนใจ ทดลอง มาเชียงใหม่ กวักมือเรียกได้ ไปส่งทุกที่ เหมือนกัน

ข้อ ดี คือ ทำเวลา่ได้ดี ไม่รับผู้โดนสารอื่น คิดเหมา ราคาเดียว
ข้อเสีย ราคาค่อนข้างสูงในการใช้บริการ และ ขับขี้ ด้วยความเร็ว เป็นนิสัย เพื่อทำเวลา เหอะ ๆ  ^_^





Bus Station รถเมล์ประจำจังหวัด (วังเวงมาก) 

รถเมล์ในเชียงใหม่ สมัยก่อน สีเหลือ ครับ วิ่งในตัวเมือง มีหลายสาย ค่ารถสมัยก่อน 3 บาท ซึ่ง ถามว่า ทำไม สูญหาย เพราะ คนพากันไปขึ้นรถแดง ส่วนใหญ่ เพราะ รถเมล์ 3 บาท ผู้ใหญ่  เด็ก 2 บาท แต่ วิ่ง ช้ามาก และรอนาน พอคนขึ้นรถแดง สมัยก่อน 5 บาท รถเมล์ เลยขาดทุน ทำให้สุดท้าย เลิกกิจการ เหลือแค่ รถสี่ล้อแดง วิ่ง นับเป็น เวลา เกือบ 10 ปี รถเมล์ เพิ่งคืนชีพมา เมื่อช่วง พืชสวนโลก ปี 49 และวิ่งมา จนถึงทุกวันนี้ แต่ว่า ก็มี ไม่มากนัก และยังคง มีรถน้อยมาก นาน ๆ จะมาสักคัน และที่ผมใช้ คำว่า วังเวง ไม่ใช่ว่ารถมี ผีนะ แต่ เพราะว่า ไม่่ค่อยมี คนขึ้น เนื่องจากรถมา นาน สายนึง บางที ช่วงกลาวัน มี 1 - 2 คน บางที วิ่งรถเปล่ายังมี เหอะ ๆ แต่ค่ารถนั้นถือว่า ถูกสุด 10 บาท ตลอดสาย

หากใครมาเที่ยว โดยรถทัวร์แล้ว ลงที่ สถานีขนส่งอาเขต ท่านสามารถ ขึ้นใช้บริืการได้ทันที เพราะว่า รถเมล์ นั้นจะจอด เทียบท่า อยู่ที่นั่นเลย และหากใคร อยากชม เมืองเชียงใหม่ ให้ครบถ้วนท่านก่ เลือกใช้ บริการได้ นั่งสบาย แอร์เย็น สนใจลองไปขึ้นดูครับ


เส้นทางเดินรถเมล์เชียงใหม่ 2 สาย

1.หนองประทีป - เชิงดอย ระยะทาง 20 กม. ซึ่งเป็นสายเดินรถเมล์เหลืองเดิมสายที่ 1

เริ่มจากประตูวิศว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -ประตูเกษตร - ตลาดพยอม - วัดสวนดอก - โรงพยาบาลมหาราช - เลี้ยวซ้ายไปหน้า ร.พ.เชียงใหม่ราม 1 - เลี้ยวขวา ผ่านหน้าตึกไอคอน - ตลาดช้างเผือก - เลี้ยวซ้ายผ่านหน้าสถานีขนส่งช้างเผือก -สนามกีฬาเทศบาล - เลี้ยวขวาผ่านวัดเชียงยืน - วัดป่าเป้า - เทศบาลนครเชียงใหม่ - เลี้ยวขวาไปตลาดต้นลำไย - หน้าไปรษณีย์ - ซิ้นเซียงหลี - ตลาดสันป่าข่อย - สถานีรถไฟ -แยกปอยหลวง - หน้าแมคโคร - ตรงข้ามทางเข้าม.พายัพ - คาร์ฟู - ขนส่งอาเขต - ร.ร.ดารา - ร.พ.แมคคอร์มิค -ร.ร.ปรินส์ -ตลาดต้นลำไย - เลี้ยวขวาผ่านวัดบุปผาราม - วัดมหาวัน - ถึงประตูท่าแพ - ตลาดสมเพชร -ซ้งจักรยาน - ประตูช้างเผือก -เชียงใหม่โบวล์ - โรงเรียนสอนคนตาบอด - เลี้ยวออกจากคูเมืองด้านในหน้า ร.ร.วัฒโน - เลี้ยวซ้ายผ่านร.พ.มหาราช -วัดสวนดอก - ตลาดต้นพยอม - สุดสายที่ประตูวิศวะ ม.ช.


2. สนามบิน - ตลาดทรายแก้ว ระยะทาง 20 กม. สายเดินรถเมล์เหลืองเดิมสายที่ 4

เริ่มจากสนามบินเชียงใหม่ -วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น - ห้างนิยมพานิช - โรงเรียนวัฒโนฯ -เข้าคูเมืองด้านใน - ผ่านสวนสาธารณะหนองบวกหาด - ตลาดประตูเชียงใหม่ - เลี้ยวซ้ายผ่านหน้าโรงแรมมนตรี - ตลาดสมเพ็รช - ออกคูเมืองด้านนอง หน้าวัดหนองคำ -แยกธานินทร์ - หน้าร.ร.ปรินส์ - ร.พ.แมคคอร์มิค - ร.ร.ดารา - อาเขต - คาร์ฟู - หน้าม.พายัพ - หน้าแมคโคร -เลี้ยวขวา แยกปอยหลวง - สถานีรถไฟ - ตลาดสันป่าข่อย - จวนผู้ว่า -เลี้ยวซ้ายไปไนท์บาร์ซาร์ - หน้าวัดศรีดอนไชย - สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์ - ร.พ.สวนปรุง -เลี้ยวซ้ายผ่านหน้านิยมพานิช - เลี้ยวขวาผ่านเซ็นทรัลแอร์พอร์ตพลาซ่า - เข้าสู่สนามบิน (เป็นร่างเส้นทางเบื้องต้น)

ข้อดี คือ ราคาถูก 10 บาท วิ่ง ตลอดสาย และไปได้รอบเมือง ถ้าเข้าใจ เส้นทางเดินรก
ข้อเสีย คือ มาช้า นาน ๆ  มาคัน วิ่ง อ้อมออกนอกเมือง หาก ขึ้นผิดสาย อาจะต้องไปนั่ง สายใหม่

แผนที่เส้นทางเดินรถ

เส้นสีแดงคือเส้นทางเดินรถรอบเมืองเชียงใหม่


หมายเหตุ "ข่าวสั้นเรื่องรถเมล์"

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2548 นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ นำคณะสื่อมวล ชนขึ้นรถเมล์ขาวขนาด 32 ที่นั่ง จำนวน 2 คัน วิ่งในเส้นทางที่คาดว่าจะยื่นขอสัมปทานจากกรม การขนส่งทางบก จำนวน 2 สาย โดยเป็นสายเดินรถเมล์เหลืองเดิมสายที่ 1 และ 4 ซึ่งออกแบบเป็นระบบรัศมีไขว้เพื่อให้เกิดจุดจอดรถเพื่อเปลี่ยนรถได้ อิงการออกแบบของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร โดยรถเมล์ขาวที่ทดสอบนั้นภายในมีเบาะสีเทาเรียงติดกันเป็นสองแถวเหมือนรถสี่ ล้อแดง แต่มีเบาะด้านหลังอีก 1 แถว มีราวสำหรับโหน ติดเครื่องปรับอากาศ และใช้น้ำมันไบโอดีเซล
ทั้งนี้จากการร่วมสำรวจของ "พลเมืองเหนือ" พบว่า เป็นเส้นทางที่แล่นผ่านจุดชุมชนสำคัญคือสถานีรถขนส่งอาเขต ห้างคาร์ฟู มหาวิทยาลัยพายัพ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น แต่บางเส้นทางเช่นที่ผ่านถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ยังวิ่งในเส้นกลางซึ่งไม่อาจขึ้นหรือลงรถได้ แต่จะมีการปรับไปใช้สายนอก และกำหนดจุดจอดรับผู้โดยสารที่เหมาะสม
นายบุญเลิศแถลงว่า ตามที่เทศบาลนครเชียงใหม่ได้รับงบประมาณปี 2547 เงินอุดหนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ตามแผนงานพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางการบินนานาชาติ จำนวน 62 ล้านบาท เพื่อซื้อรถยนต์โดยสารปรับอากาศขนาด 32 ที่นั่ง จำนวน 26 คัน เพื่อเป็นระบบขนส่งสาธารณะในเมืองนั้น
เทศบาลฯ ก็ได้จัดทำแบบสอบถามจำนวน 4,000 ชุด ระบุว่าคนเชียงใหม่ต้องการให้มีระบบขนส่งมวลชนโดยรถเมล์ร้อยละ 84 มีหรือไม่มีก็ได้ร้อยละ 8 และไม่ต้องมีร้อยละ 7 เส้นทางที่คิดว่าจะใช้มากที่สุด และระยะเวลาในการรอรถ 8-10 นาที ในช่วงเวลาปกติ และ 10-12 นาที ในช่วงเวลาเร่งด่วน จุดจอดรถไม่ควรห่างจากจุดที่สามารถเดินไปใช้บริการได้ราว 300 - 500 เมตร จึงนำมาเป็นฐานในการออกแบบเส้นทางการเดินรถและจุดจอดรถ กำหนดอัตราค่าโดยสารนักเรียน 5 บาท ผู้ใหญ่และนักท่องเที่ยว 10 บาทตลอดสาย ให้บริการตั้งแต่ 05.00 น - 22.00 น.
โดยหลังจากสรุปเส้นทางขอมติจากที่ประชุมคณะกรรมการขนส่งทางบกจังหวัด เชียงใหม่แล้วก็จะส่งเรื่องให้กรมการขนส่งทางบกออกฤษฎีการองรับสัมปทานเส้น ทาง และเทศบาลก็เปลี่ยนการจดทะเบียนรถ 30 คือรถรับจ้างไม่ประจำทาง เป็นรถ 10 คือรถประจำทางทันที โดยคาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ในเดือนพฤษภาคม 2548




วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ครูบาศรีวิชัย, ดอยสุเทพ, พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์, ดอยปุย



วัดพระธาตุดอยสุเทพ (Doi Sutep)
อยู่ในตัวเมือง ก่อน ขึ้นไป จะผ่าน อนุเสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย 
ตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพ มีพระบรมธาตุสีทองอยู่ในใจกลางของวัด.ภายในพระบรมธาต ุ
บรรจุพระอัฐิของพระพุทธเจ้า.ในทุกๆปีจะมีพุทธศาสนิกชน แล้วนักท่องเที่ยวแวะมา
นมัสการอยู่เสมอ.เป็นวัดที่สำคัญประจำจังหวัดเชียงใหม่ และในช่วง วันวิสาขบูชา จะมี พิธี ที่เรียกว่า "เดินขึ้นดอย" เพื่อเป็นการระลึกถึง ครูบาศรีวิชัย


อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย (Krubasrivichai)
ตั้งอยู่บนทางขึ้นดอยสุเทพก่อนถึงน้ำตกห้วยแก้ว ครูบาศรีวิชัยเป็นนักบุญแห่งล้านนาไทย
ผู้เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเชียงใหม่และประชาชนโดยทั่วไป 

ผู้ที่จะขึ้นไปดอยสุเทพมักจะลงนมัสการอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เพื่อความเป็นศิริมงคล
ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ริเริ่มชักชวนให้ประชาชนชาวเหนือร่วมแรงร่วมใจกันสร้างถนน
จากเชิงดอยขึ้นไปสู่วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ โดยเริ่มลงมือ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 และ แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2478 รวมระยะทางจากเชิงดอยไปถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ 10 กิโลเมตร


และหากมาเชียงใหม่ ถ้าไม่ได้ไป ไหว้ ครูบาศรีวิชัย จะถือว่าท่านไม่ได้่มาถึงเชียงใหม่อย่างแท้จริง 





พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ (King Palace)
จากวัดพระธาตุดอยสุเทพไปยังพระตำหนักฯ ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นพระตำหนักประทับแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2505 ตั้งอยู่บนดอยบวกห้า โดยปกติแล้วจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมเฉพาะวันศุกร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ ทั้งนี้จะต้องเป็นช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มิได้เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ซึ่งปกติจะปิดในช่วงเวลาตั้งแต่ประมาณกลางเดือนธันวาคม-ต้นเดือนกุมภาพันธ์ แต่ทั้งนี้นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามจากสำนักงาน ททท.ภาคเหนือเขต 1 (สำนักงานเชียงใหม่)




อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย (Doi Puy)
มีพื้นที่ประมาณ 262.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 163,162.50 ไร่ครอบคลุมท้องที่อำเภอแม่ริม อำเภอหางดง และอำเภอเมือง ประกอบด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์ ภูเขาที่สูงสลับซับซ้อน ดอยที่สำคัญได้แก่ ดอยสุเทพ ดอยบวกห้า และดอยปุย เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธาร ทั้งมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญทางศาสนา และทางประวัติศาสตร์
การเดินทาง
การเดินทางไปยังที่ทำการอุทยานฯ จากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 5 กิโลเมตร ตามถนนห้วยแก้ว-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-สวนสัตว์เชียงใหม่ ถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ จากนั้นเดินทางต่อไปอีกเล็กน้อยถึงทางแยกขวามือ มีป้ายบอกทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ดอยปุย 
บริเวณรอบๆ หมู่บ้านมีทิวทัศน์ที่สวยงามอย่างยิ่งและยังสามารถมองเห็นดอยอินทนนท์เบื้องหน้าได้อย่างชัดเจนอีกด้วย นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมได้สะดวกเพราะอยู่ใกล้ตัวเมือง โดยใช้เวลาในการเดินทางจากตัวเมืองประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น ภายในหมู่บ้านมีร้านขายของที่ระลึกซึ่งมีทั้งผลิตภายในหมู่บ้านและนำมาจากที่อื่นวางขายให้แก่นักท่องเที่ยวด้วย การเดินทาง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนดอยปุย ห่างจากพระตำหนักฯ 3 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอด สามารถเข้าไปเที่ยวด้วยตนเองได้ หรือจะเช่ารถสองแถวจากดอยสุเทพขึ้นไปได้ทุกฤดูกาล

Sawaddee Chiangmai

Sawaddee...Kab (Hi)
Welcome to Chiang Mai province at Thailands.
You can know about history and everything in chiangmai  Please follow me..


" นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ " 
หรือจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีเรื่องราวความเป็นมาในอดีตมากมาย ดังในหลักฐานจารึก ปรากฎหลักฐานเริ่มขึ้นในสมัย พญามังรายกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ลาว เชื้อสายปู่เจ้า ลาวจก ได้ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์์ ที่เมืองเงินยางเชียงแสนพระองค์ทรงรวบรวมหัวเมืองต่างๆ และได้ทรงขยายอำนาจลงไปทางใต้ โดยได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นเป็นศูนย์กลางของการรวบรวมเมืองเล็กๆในแถบลุ่มน้ำกก และตั้งแคว้นขึ้น ชื่อว่า แคว้นโยน หรือโยนก จากนั้น พระองค์ทรงขยายอำนาจเข้าสู่ลุ่มน้ำปิง เพื่อยึดครองแคว้น หริภูญไชย พระองค์ทรงใช้เวลานานถึง 8 ปี จึงสามารถตี แคว้นหริภุญไชยได้ต่อมาพระองค์ทรงผนวก หริภูญไชยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโยนก กลายมาเป็น อาณาจักรล้านนา ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน
          ต่อมาในปีพุทธศักราช 1837 พญามังรายได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นทางเหนือ ของแคว้นหริภุญไชย แต่บริเวณดังกล่าวเกิด น้ำท่วมบ่อยครั้ง (เวียงกุมกามในปัจจุบัน)
พระองค์จึงตั้งเมืองแห่งใหม่ และที่เหมาะสมบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงเชิงดอยสุเทพ ซึ่งเป็นบริเวณที่สะดวกในการทำการค้าขาย ทั้งทางบกและทางน้ำ และยังง่ายต่อการควบคุมหัวเมืองต่างๆ  ในปี พ.ศ. 1839 พญามังรายได้เชิญพระสหาย คือ พญางำเมือง และ พญาร่วง ( พ่อขุนรามคำแหง )มาหารือเรื่องการวางผังสร้างเมืองและทั้งสามพระองค์  ก็ได้ร่วมสถาปนาเมืองแห่งนี้ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" 

เส้นทางการเดินทางต่าง ๆ 
ทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ หลังจากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 117 ไปยังพิษณุโลก ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำปาง ลำพูน ถึงเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 700 กิโลเมตร อีกทางหนึ่งคือจากนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก และลำปาง ถึงเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 696 กิโลเมตร

รถประจำทาง  มีรถประจำทางปรับอากาศสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 มาขนส่งอาเขตเชียงใหม่ทุกวันๆ ละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 08.30 น.ถึง22.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่
บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 537-8055 และที่เชียงใหม่ (053) 241449, 242664  

สถานีรถไฟ มีรถด่วน และรถเร็ว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ทุกวันสอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 223-7010, 223-7020 สถานีรถไฟเชียงใหม่ โทร. (053) 242094 

สายการบิน บริษัทการบินไทย จำกัด บินประจำระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง Thai Airways Tel.053-210210 Reservation 053-211044-7 สำนักงานกรุงเทพๆ สำรองที่นั่ง โทร. 280-0060, 628-2000
บริษัทบางกอกแอร์เวย์ จำกัด บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ Tel. 053-281519 Fax.053-281520